สารภี

สารภี

สารภี

ชื่อวิทยาศาสตร์

Mammea Siamensis Kosterm

ชื่อวงศ์

Guttiferae

ชื่อท้องถิ่น

  • ภาคกลาง เรียก สารภี
  • ภาคเหนือ เรียก สารภีแนน
  • จันทบุรี เรียก ทรพี
  • ภาคใต้ เรียก สร้อยพี

ลักษณะทั่วไป

สารภีเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางไม่ผลัดใบ มีใบแน่นเป็นพุ่มหนาทึบและมีกิ่งก้านสาขามาก ขนาดต้นสูงประมาณ 12-15 เมตร ใบเรียบเกลี้ยงรูปไข่ ปลายใบกว้างกว่าโคนใบยาว 5-6 นิ้ว มีดอกสีขาวกลิ่นหอมแรงและไปได้ไกล ออกดอกเป็นช่อ ดอกเรียงแน่นเป็นกระจุกตามซอกกิ่ง ขนาดดอกกว้างประมาณ 2 ซม. มีกลีบดอก 5 กลีบ กับเกสรตัวผู้เป็นเส้นฝอยสีเหลืองล้อมอยู่ในวงใน เริ่มออกดอกในเดือนมกราคมและจะบานสะพรั่งเต็มที่ในเดือนกุมภาพันธ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง

การปลูก

สารภีเป็นพันธุ์ไม้ที่ปลูกได้ทั้งที่กลางแจ้งและแดดร่มรำไร สามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด แต่ควรมีความชุ่มชื้นเพียงพอ มักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และตะวันออกเฉียงใต้

สรรพคุณทางยา

  • ดอก รสขมหอมเย็น แก้โลหิตพิการ แก้ไข้มีพิษร้อน เจริญอาหาร บำรุงหัวใจ และเป็นยาชูกำลัง
  • เกสร รสหอมเย็น บำรุงครรภ์ และแก้ไข้

คติความเชื่อ

ตามตำราพรหมชาติจัดสารภีเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง ที่ควรมีไว้ในบริเวณบ้านโดยกำหนดทิศที่ปลูกว่า ควรเป็นทิศตะวันออกเฉียงใต้ (อาคเนย์) เพื่อป้องกันเสนียดจัญไร


ทิศอุดร (ทิศเหนือ)

ทิศอีสาน (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)

ทิศบูรพา (ทิศตะวันออก)

ทิศอาคเนย์ (ทิศตะวันออกเฉียงใต้)

ทิศทักษิณ (ทิศใต้)

ทิศหรดี (ทิศตะวันตกเฉียงใต้)

ทิศประจิม (ทิศตะวันตก)

ทิศพายัพ (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ)

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง