ยอ

ยอ

ยอ

ชื่อวิทยาศาสตร์

Morinda citrfolia Linn.

ชื่อวงศ์

Rubiaceae

ชื่อท้องถิ่น

  • ภาคกลาง เรียก ยอบ้าน
  • ภาคเหนือ เรียก มะตาเสือ
  • ภาคอีสาน เรียก ยอ
  • กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน เรียก แยใหญ่

ลักษณะทั่วไป

ต้นยอเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบใหญ่หนาสีเขียวสด ดอกเล็กสีขาวเป็นกระจุก ผลกลมยาวรี มีตาเป็นปุ่มโดยรอบผล ลูกอ่อนสีเขียวสด เปลี่ยนเป็นสีขาวนวลเมื่อสุก มีกลิ่นฉุน

การปลูก

ปลูกโดยการใช้เมล็ดขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด ชอบดินชุ่มชื้น วิธีปลูกจะปลูกลงหลุมเลย หรือเพาะกล้าก่อนแล้วค่อยนำไปปลูกในที่ที่เตรียมไว้ก็ได้ ควรกำจัดวัชพืชบ้าง

สรรพคุณทางยา

  • ผลดิบ รสเผ็ดร้อน สรรพคุณขับลม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับโลหิต ระดูของสตรี ฟอกเลือด แก้คลื่นเหียนอาเจียน ผสมยาแก้สะอึก อมแก้เหงือกเปื่อย แก้เสียงแหบแห้ง และแก้ร้อนใน
  • ราก เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก
  • ใบ รสขมเผื่อน บำรุงธาตุ แก้ไข้ ฆ่าเหา ปวดข้อ คั้นน้ำทาแก้โรคเกาต์ แก้ท้องร่วงในเด็ก แก้เหงือกบวม คั้นน้ำทาแก้แผลเรื้อรัง แก้กระษัย หรือผสมยาอื่นแก้วัณโรค

คุณค่าทางโภชนาการ

ใบยอและลูกยอใช้เป็นผักได้ นิยมใช้รองกระทงห่อหมก ภาคใต้นิยมใช้ใบยออ่อนๆ ซอยเป็นฝอยแกงเผ็ดกับปลาใส่ขมิ้น ในใบยอมีสารอาหาร ทั้งแคลเซียมมาก มีเกลือแร่ วิตามิน รวมทั้งกากและเส้นใยอาหาร

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

ผลยอมีสารเคมี Asperuloside, caproic acid, caprylic acid และ glucose แต่ไม่มีรายงานด้านเภสัชวิทยาและด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง

คติความเชื่อ

คนโบราณนิยมปลูกไว้ในบริเวณบ้าน โดยกำหนดปลูกทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ (อาคเนย์) เชื่อว่าป้องกันสิ่งเลวร้าย อีกทั้งชื่อยอยังเป็นมงคลนาม ถือเป็นเคล็ดลับกันว่า จะได้รับการสรรเสริญเยินยอ หรือยกย่องในสิ่งที่ดีงาม


ทิศอุดร (ทิศเหนือ)

ทิศอีสาน (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)

ทิศบูรพา (ทิศตะวันออก)

ทิศอาคเนย์ (ทิศตะวันออกเฉียงใต้)

ทิศทักษิณ (ทิศใต้)

ทิศหรดี (ทิศตะวันตกเฉียงใต้)

ทิศประจิม (ทิศตะวันตก)

ทิศพายัพ (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ)

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง