มะพลับ

มะพลับ

ชื่อวิทยาศาสตร์

Diospyros areolata King & Gamble

ชื่อวงศ์

EBENACEAE

ชื่อท้องถิ่น

เชียงราย เรียก มะพลับ, ม่ากาลับตอง, ม่ากับต๋อง

ลักษณะทั่วไป

มะพลับเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงถึง 15 เมตร ลำต้นมักคดงอ เปลือกค่อนข้างเรียบ สีน้ำตาลปนเขียวอ่อนหรือปนดำ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ตัวใบรูปขอบขนานกว้าง 4–7 ซม. ยาว 7–10 ซม. โคนใบโค้งมน ขอบใบเรียบ ปลายใบเรียวทู่ เนื้อใบหนาผิวเกลี้ยงทั้งสองด้าน ดอกมีดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบ ก้านดอกยาวประมาณ 2 มม. มีขนหนาแน่น ดอกเพศเมียมักออกเดี่ยวๆ ตามกิ่งเล็กๆ ก้านดอกยาว 5–10 มม. มีขน ผลกลมหรือค่อนข้างกลม ผิวมีเกล็ดสีน้ำตาลแดง กลีบจุกผลแต่ละกลีบเกือบไม่ติดกัน เกลี้ยงหรืออาจมีขนบ้างทั้งสอง ด้านกลีบส่วนมากจะพับกลับ มีบ้างที่แผ่กางออก ขอบกลีบมักเป็นคลื่น ไม่มีเส้นลายกลีบ

การปลูก

พบขึ้นตามป่าดงดิบ และตามบริเวณป่าชายเลน เหนือระดับน้ำทะเล 2–30 เมตร ทางภาคใต้ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

สรรพคุณทางยา

ใช้เปลือกต้นและเนื้อไม้ ต้มเอาน้ำดื่ม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ใช้เปลือกต้นและเนื้อไม้ย่างไฟให้กรอบ หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ชงดื่ม แก้กามตามด้าน บำรุงความกำหนัด

คติความเชื่อ

มะพลับเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งของคนไทย กำหนดปลูกไว้ทางทิศใต้ (ทักษิณ) ตามโบราณเชื่อกันว่า การปลูกต้นมะพลับในบริเวณบ้านจะทำให้ร่ำรวยยิ่งขึ้น


ทิศอุดร (ทิศเหนือ)

ทิศอีสาน (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)

ทิศบูรพา (ทิศตะวันออก)

ทิศอาคเนย์ (ทิศตะวันออกเฉียงใต้)

ทิศทักษิณ (ทิศใต้)

ทิศหรดี (ทิศตะวันตกเฉียงใต้)

ทิศประจิม (ทิศตะวันตก)

ทิศพายัพ (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ)

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง