ไม้ประดับดูดสารพิษ ปาล์มใบไผ่

ปาล์มใบไผ่
Parlor Palm

ปาล์มใบไผ่ เป็นปาล์มขนาดเล็ก ถ้านำมาปลูกเป็นไม้ประดับในอาคารจะมีความสูงเพียง 1-1.80 เมตร นิยมปลูกเป็นกอ ใบและก้านใบมีสีเขียว โดยเฉพาะใบมีลักษณะอ่อนช้อยเหมือนใบไผ่ จึงนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับภายในอาคารแต่ปาล์มใบไผ่เป็นพืชที่เติบโตค่อนข้างช้า แต่มีความโดดเด่นที่เลี้ยงง่าย ทนทานแม้จะขาดแคลนน้ำและแสงแดดหรือตั้งอยู่ในที่ทึบแสงเป็นเวลานานๆ ก็ยังสามารถอยู่ได้

ปาล์มใบไผ่ มีลักษณะคล้ายปาล์มไผ่ (Bamboo Palm) แต่มีขนาดเล็กกว่า ใบจะมีความอ่อนช้อยกว่า และมีความสามารถในการดูดสารพิษเหมือนกัน แต่จะดูดได้น้อยกว่า แต่กระนั้นก็เป็นพืชที่น่าสนใจมากในการนำมาเป็นไม้ประดับภายในบ้านหรือสำนักงาน

ปาล์มใบไผ่ เป็นไม้ประดับอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีความสามารถสูงในการดูดสารพิษจากอากาศภายในอาคาร มีอัตราการคายความชื้นได้สูง ประกอบกับความสวยงามของ ปาล์มใบไผ่ จึงเป็นไม้ประดับอีกชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าควรปลูกไว้ประดับในอาคารสำนักงานและบ้านเรือน

ไม้ประดับดูดสารพิษ ปาล์มใบไผ่

ชื่อวิทยาศาสตร์ Chamaedorea elegans
วงศ์ PALMAE
ถิ่นกำเนิด เม็กซิโก กัวเตมาลา
แสงแดด กึ่งแดด – กึ่งร่ม
อุณหภูมิ 20-27 องศาเซลเซียส
ความชื้น ต้องการความชื้นปานกลาง
น้ำ ต้องการน้ำปานกลาง
การดูแล เป็นพืชที่เจริญเติบโตช้า ไม่ต้องการน้ำมาก ถ้าปลูกในอาคาร รดน้ำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ก็พอเพียง แต่ต้องการความชื้นพอสมควร จึงควรฉีดพ่นละอองน้ำ แก่ใบ 2-3 วันครั้ง และควรใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกละลายน้ำเจือจางรดเดือนละครั้ง
การปลูก ชอบดินร่วนที่มีอินทรีวัตถุ ส่วนผสมของดินใช้ดินร่วน 2 ส่วน ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1 ส่วน เศษใบไม้ผุ 1 ส่วน
การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
อัตราการคายความชื้น มาก
อัตราการดูดสารพิษ ปานกลาง


ไม้ประดับดูดสารพิษ

บอสตันเฟินเบญจมาศเยอบิร่าสิบสองปันนาวาสนาราชินีปาล์มไผ่เฟิร์นดาบออสเตรเลียยางอินเดียตีนนตุ๊กแกฝรั่งไทรย้อยใบแหลมเดหลีหมากเหลืองวาสนาอธิษฐานจั๋งหนวดปลาหมึกเข็มริมแดงประกายเงินเศรษฐีไซ่ง่อนกล้วยไม้หวายสาวน้อยประแป้งทิวลิปไทรใบเล็กเสน่ห์จันทน์แดงปาล์มใบไผ่กุหลาบพันปีเขียวหมื่นปีเศรษฐีเรือนในกล้วยแคระมรกตแดงสโนว์ดรอปฟิโลหูช้างพลูด่างสนฉัตรบิโกเนียใบมันแววมยุราไอวีมังกรคาบแก้วฟิโลเซลลอมเงินไหลมาฟิโลใบหัวใจ
หน้าวัวเปลวเทียนคล้าหางนกยูงคริสต์มาสไซคลาเมนกล้วยไม้ฟาแลนอปซีสสับปะรดสีโกสนลิ้นมังกรว่านหางจระเข้กุหลาบหิน

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง