ต้นไม้ประจำจังหวัดน่าน ต้นกำลังเสือโคร่ง

ต้นกำลังเสือโคร่ง
ต้นไม้ประจำจังหวัดน่าน

ต้นไม้ประจำจังหวัดบึงกาฬ ต้นสิรินธรวัลลี

ต้นไม้ประจำจังหวัด
น่าน
ชื่อพันธุ์ไม้
ต้นกำลังเสือโคร่ง
ชื่อสามัญ
Birch
ชื่อวิทยาศาสตร์
Betula alnoides Buch-Ham.
วงศ์
CUPULIFERAE
ชื่ออื่น
กำลังพญาเสือโคร่ง, กำลังเสือโคร่ง (เชียงใหม่)
ลักษณะทั่วไป
ต้นกำลังเสือโคร่งเป็นไม้ยืนต้นสูง 20–35 เมตร เปลือกต้นมีกลิ่นคล้ายการบูร เวลาแก่จะลอกออกเป็นชั้นๆ คล้ายกระดาษ ยอดอ่อน ก้านใบ และช่อดอกมีขนสีเหลืองหรือสีน้ำตาลปกคลุม หูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม ใบเป็นรูปไข่แกมรูปหอก เนื้อใบบางคล้ายกระดาษ ด้านใต้ของใบมีตุ่ม โคนใบป้านเกือบเป็นเส้นตรง ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อยสองชั้นหรือสามชั้น ซี่หยักแหลม ปลายใบเรียวแหลม ออกดอกเป็นช่อยาวแบบหางกระรอกตามง่ามใบ ดอกย่อยไม่มีก้าน ช่อดอกเพศผู้ยาว 5–8 ซม. กลีบรองดอกเป็นรูปโล่หรือเกือบกลม มีแกนอยู่ตรงกลาง ช่อดอกเพศเมียยาว 3–9 ซม. กลีบรอบดอกไม่มีก้านมี 3 หยัก ด้านนอกมีขน รังไข่แบน กรอบนอกเป็นรูปไข่หรือเกือบกลม มีขน ท่อรังไข่ยาวกว่ารังไข่เล็กน้อย ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ผลมีปัก 2 ข้างโปร่งบาง
ขยายพันธุ์
โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม
สภาพดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี ชอบความชื้นน้อย
ถิ่นกำเนิด
ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

คำขวัญประจำจังหวัดน่าน
แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง


ต้นไม้ประจำจังหวัด

ภาคเหนือ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคกลาง

ภาคตะวันออก

ภาคตะวันตก

ภาคใต้

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง