ว่าน ไม้ประดับนามมงคล

ว่าน
ไม้ประดับนามมงคล


“ว่าน” คำที่ใช้เรียกนำหน้าชื่อต้นไม้โดยเฉพาะต้นไม้ที่ใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพรและไม้ประดับบางชนิด ว่านหลายชนิดถูกเรียกว่า “ว่าน” จนติดปากและเป็นที่รู้จักกันมาแต่โบราณ จากการสืบค้นพบว่ามีการกล่าวถึงว่านในหนังสือตำรายาไทยชื่อ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ รวบรวมโดย พระยาพิศประสาทเวช ในปี พ.ศ.2452 และ หนังสือชื่อ แพทย์ตำบล เล่ม 1 รวบรวมจัดพิมพ์โดย พระยาแพทย์พงศา วิสุธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) ต้นตระกูลสุนทรเวช ในปี พ.ศ.2464 หนังสือทั้งสองเล่มกล่าวถึงว่าน 5 ชนิดเท่านั้นคือ ว่านกีบแรด ว่านนางคำ ว่านหางช้าง ว่านน้ำ ว่านเปราะ

หลังจากปี พ.ศ.2464 เป็นต้นมา ว่านจึงเริ่มเป็นที่แพร่หลาย มีตำราที่กล่าวถึงลักษณะว่าน ตำราที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับว่าน ใน ปี พ.ศ.2476 หลวงประพัฒน์สรรพากร รวบรวมหนังสือชื่อ ตำรากระบิลว่าน จนเป็นที่ยอมรับในหมู่นักเล่นว่านและนับว่าเป็นตำราที่ให้ความรู้เรื่องว่านอย่างสมบูรณ์ที่สุด แม้ราชบัณฑิตสถานยังยอมรับและใช้เป็นหนังสืออ้างอิงในการชำระพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน โดยนิยามไว้ว่า “ว่าน คือพืชที่มีหัวบ้าง ที่ไม่มีหัวบ้าง ใช้เป็นยาบ้าง ใช้อยู่ยงคงกระพันบ้าง” เห็นได้ว่าความหมายตามพจนานุกรม ว่านคือพืชที่มีหัวหรือไม่มีหัวก็ได้ บางชนิดปลูกเพื่อใช้เป็นยาสมุนไพร เป็นเครื่องรางของขลัง ป้องกันอันตราย พิษสัตว์กัดต่อย ยาเบื่อเมา ยาสั่ง ยาเสพติด สามารถดับพิษร้ายให้หายได้ ว่านแต่ละชนิดมีคุณานุภาพบันดาลให้เกิดผล เกิดโชคลาภ ทำมาค้าขึ้น เงินทองไหลมาเทมา มีคนเคารพนับถือ มีความเชื่อกันว่าการปลูกเลี้ยงว่าน ถ้าทำให้ถูกต้องตามพิธีการ ให้ความสำคัญว่าว่านเป็นของศักดิ์สิทธิ์มีอิทธิฤทธิ์ ก็ต้องมีพิธีมากกว่าการปลูกเลี้ยงธรรมดา เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ปลูกเลี้ยงและเป็นการเพิ่มฤทธิ์ธานุภาพให้แก่ว่าน เช่น เวลารดน้ำต้องเสกคาถากำกับเป็นบทเป็นตอนต่างกันไป สามจบ เจ็ดจบหรือตามอายุของผู้ปลูกเลี้ยงแล้วแต่ชนิดของว่าน การขุดก็ต้องทำในวัน เดือน ต่างๆ กัน ทั้งข้างขึ้น ข้างแรม เช่น การขุดเก็บว่านมักเลือกวันอังคาร วันใดวันหนึ่งในเดือนสิบสองหรือไม่เกินวันพุธข้างขึ้นของเดือนอ้าย เวลาขุดใช้มือตบดินใกล้กอว่านหรือต้นว่าน แล้วเสกคาถาเรียกว่านไปตบดินไปจนจบคาถา จึงคอยขุดนำหัวว่านขึ้นมา

นับจาก พ.ศ.2484 ความนิยมว่านก็ค่อยๆ ห่างหายไป จนกระทั่ง พ.ศ.2500 ความนิยมว่านให้ความสำคัญกับว่านกลับมาอีกครั้งหนึ่ง มีการรวบรวมจัดพิมพ์หนังสือว่านขึ้นมาอีกหลายฉบับ โดยเฉพาะหนังสือ ว่านกับคุณลักษณะ รวบรวมโดย นายเลื่อน กัณหะกาญจนะ จัดพิมพ์จัดจำหน่ายในนามของ สมาคมพฤกษศาสตร์แห่งประเทศไทย เป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมจากนักเล่นว่านมาก

ปัจจุบันผู้ที่ให้ความสนใจว่านไม่เพียงชื่นชอบเหมือนผู้เลี้ยงว่านในสมัยก่อนเท่านั้น แต่ยังให้ความสนใจในเรื่องต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในด้านอื่นๆ หลายรูปแบบ รวมทั้งการสนใจว่านในเชิงพฤกษาศาสตร์ ซึ่งมีการจัดแบ่งว่านได้ถึง 34 วงศ์ (Family) 512 สกุล (Genus) และ กว่า 1700 พันธุ์ (Species) มีทั้งว่านที่ให้ประโยชน์ทางยาสมุนไพรรักษาโรค ว่านที่มีชื่อเป็นมงคลนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ ซึ่งมีความเชื่อว่าว่านเหล่านี้เมื่อปลูกเลี้ยงแล้วจะส่งผลให้ทำมาค้าขึ้น นำโชคลาภวาสนา มาสู่ผู้ปลูกเลี้ยง เช่นว่านที่เว็บไซท์ ๑๐๘ พรรณไม้ไทย นำเสนอนี้เป็นเพียงบางส่วนของว่านที่เป็นมงคลนาม มีความสวยงาม และเป็นที่นิยมของผู้ปลูกเลี้ยงทั่วไป


ว่าน ไม้ประดับนามมงคล

วงศ์พลับพลึง AMARYLLIDACEAE

ว่านกวักแม่ทองใบ

ว่านสี่ทิศ

ว่านนางคุ้ม

ว่านนางล้อม

ว่านมหาโชค

ว่านมหาลาภ

ว่านรางนาก

ว่านไชยมงคล

ว่านแร้งคอดำ

ว่านกุมารทอง

วงศ์บอน ARACEAE

ว่านเสน่ห์จันทน์เขียว

ว่านเสน่ห์จันทน์แดง

ว่านเสน่ห์จันทน์ขาว

ว่านเสน่ห์จันทน์มหาโพธิ์

ว่านเต่าเกียด

ว่านเต่านำโชค

ว่านสิงหะโมรา

ว่านเขียวหมื่นปี

ว่านพญาช้างเผือก

ว่านนางกวักใบโพธิ์

ว่านกวักโพธิ์เงิน

ว่านกวักทองคำ

ว่านเจ้าน้อยมหาพรหม

ว่านเงินไหลมา

ว่านน้ำ

วงศ์ทานตะวัน COMPOSITAE

ว่านมหากาฬ

ว่านแจง

วงศ์เปล้า EUPHORBIACEAE

ว่านธรณีสาร

ว่านหนุมาน

ว่านลิ้นมังกร

วงศ์ธรรมรักษา HELICONIACEAE

ว่านแสงอาทิตย์

วงศ์ไอริส IRIDACEAE

ว่านหอมแดง

ว่านหางช้าง

ว่านแม่ยับ

วงศ์ลิลลี่ LILIACEAE

ว่านเพชรนารายณ์

ว่านเศรษฐีเรือนกลาง

ว่านเศรษฐีเรือนนอก

ว่านเศรษฐีเรือนใน

ว่านเศรษฐีไซ่ง่อน

ว่านเศรษฐีขอดทรัพย์

ว่านกวนอิม

ว่านหางจระเข้

ว่านดองดึง

วงศ์คล้า MARANTHACEAE

ว่านนกยูง

ว่านนกคุ้ม

ว่านเสน่ห์ขุนแผน

วงศ์กล้วยไม้ ORCHIDACEAE

ว่านเพชรหึง

ว่านอึ่ง

วงศ์ไม้เท้ายายม่อม TACCACEAE

ว่านค้างคาว

ว่านพังพอน

วงศ์องุ่น VITACEAE

ว่านเพชรสังฆาต

ว่านพระเจ้าห้าพระองค์เถา

วงศ์ขิง ZINGIBERACEAE

ว่านพญามือเหล็ก

ว่านมหานิยม

ว่านมหาเสน่ห์

ว่านมหาเมฆ

ว่านมหาหงส์

ว่านกระแจะจันทน์

ว่านนางคำ

ว่านชักมดลูก

ว่านร่อนทอง

ว่านกระชายแดง

ว่านกระชายดำ

ว่านไพลขาว

ว่านไพลดำ

ว่านเปราะหอม

ว่านขมิ้นอ้อย

ว่านสาวหลง

ว่านเพชรกลับ

ว่านกำบัง

ว่านคัณฑมาลา

ว่านเปราะป่า

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง