ดอกขจร

ดอกขจร

ดอกขจร

ชื่อวิทยาศาสตร์ Telosma minor
ชื่อวงศ์ ASCLEPIADACEAE
ชื่อสามัญ Cowslip Creeper
ชื่ออื่นๆ ดอกสลิด
ถิ่นกำเนิด
การขยายพันธุ์ ปักชำกิ่ง, ทาบกิ่ง
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
ใช้ทำยาสมุนไพรโดย ใช้รากผสมยาหยอดรักษาตา รับประทานทำให้อาเจียนถอนพิษเบื่อเมา ดับพิษ นอกจากนี้ดอกขจรยังนำมาทำอาหารรับประทานได้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ขจรเป็นไม้เลื้อยเถาเล็กแตกยอดจำนวนมาก ทุกส่วนของลำต้นมีน้ำยางขาว ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามเป็นใบคู่เป็นรูปหัวใจ กว้างและยาว 6–10 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ขอบใบเรียบ มีช่อดอกสีเหลืองอมชมพูอ่อนออกเป็นช่อแบบซี่ร่ม ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันส่วนปลายแยก 5 แฉกกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายกลีบแยกเป็น 5 แฉก ดอกบานไม่พร้อมกันดอกอ่อนสีเขียว เมื่อบานเริ่มหอมตั้งแต่ช่วงบ่าย ดอกออกมากตั้งแต่ต้นฤดูหนาว
การปลูกและดูแลรักษา
ขจรเป็นไม้ที่ขึ้นได้ดีในดินทุกสภาพ แต่ถ้าจะให้ดีควรปลูกในดินร่วนปนทราย หรือดินที่มีความร่วนซุยมากๆ ขจรเป็นไม้ที่ชอบแดดจัดไม่ต้องการน้ำมากนัก และทนต่อสภาพความแห้งแล้งได้ดี ดังนั้นการรดน้ำให้รด 2 วันต่อครั้ง

เพลงอุทยานดอกไม้

ชม ผกา จำปา จำปี
กุหลาบ ราตรี พะยอม อังกาบ ทั้ง กรรณิการ์
ลำดวน นมแมว ซ่อนกลิ่น ยี่โถ ชงโค มณฑา
สายหยุด เฟื่องฟ้า ชบา และ สร้อยทอง
บานบุรี ยี่สุ่น ขจร
ประดู่ พุดซ้อน พลับพลึง หงอนไก่ พิกุล ควรปอง
งาม ทานตะวัน รักเร่ กาหลง ประยงค์ พวงทอง
บานชื่น สุขสอง พุทธชาด สะอาดแซม
(ซ้ำ)…พิศ พวงชมพู
กระดังงา เลื้อยเคียงคู่ ดูสดสวยแฉล้ม
รสสุคนธ์ บุญนาค นางแย้ม สารภี ที่ถูกใจ…
…งาม อุบล ปน จันทร์กะพ้อ
ผีเสื้อแตกกอ พร้อมเล็บมือนาง พุดตาน กล้วยไม้
ดาวเรือง อัญชัน ยี่หุบ มะลิวัลย์ แลวิไล
ชูช่อไสว เร้าใจในอุทยาน…(ซ้ำ)

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง