ดอกกระดังงา

ดอกกระดังงา

ดอกกระดังงา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cananga Odroata
ชื่อวงศ์ ANNONACEAE
ชื่อสามัญ Cananga
ชื่ออื่นๆ กระดังงาไทย, กระดังงาใหญ่, กระดังงาใบใหญ่, สะบันงา
ถิ่นกำเนิด ประเทศฟิลิปปินส์, ประเทศอินโดนีเซีย
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
กระดังงาไทยที่ปลูกกันมากตามบ้านนั้นจริงๆ แล้วไม่ได้มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย แต่มีถิ่นกำเนิดในประเทศฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซีย ดอกกระดังงาไทยนี้สามารถนำไปใช้สกัดเป็นน้ำมันและทำเป็นเครื่องอบเครื่องหอมได้อีกด้วย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นพรรณไม้ขนาดกลางถึงใหญ่สูงประมาณ 15-25 เมตร เป็นพรรณไม้พุ่มแน่น โคนต้นมีปุ่มเล็กน้อย ใบเป็นใบเดี่ยวขึ้นหนาทึบสลับกันไปตามกิ่ง ขอบใบเรียบและมนรี ปลายใบแหลม ยาวประมาณ 6-7 นิ้ว ดอกมีสีเหลืองกลิ่นหอมกว่ากระดังงาสงขลา กลีบดอกเรียวยาวประมาณ 4 นิ้ว มีอยู่ 6 กลีบและมี 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ เหมือนกระดังงาสงขลา แต่กลีบจะม้วนบิดไปมา
การปลูกและดูแลรักษา
กระดังงาไทยเป็นไม้กลางแจ้งต้องการแสงแดดจัด ออกดอกตลอดปี ดินที่ปลูกควรเป็นดินร่วนและมีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอ

เพลงอุทยานดอกไม้

ชม ผกา จำปา จำปี
กุหลาบ ราตรี พะยอม อังกาบ ทั้ง กรรณิการ์
ลำดวน นมแมว ซ่อนกลิ่น ยี่โถ ชงโค มณฑา
สายหยุด เฟื่องฟ้า ชบา และ สร้อยทอง
บานบุรี ยี่สุ่น ขจร
ประดู่ พุดซ้อน พลับพลึง หงอนไก่ พิกุล ควรปอง
งาม ทานตะวัน รักเร่ กาหลง ประยงค์ พวงทอง
บานชื่น สุขสอง พุทธชาด สะอาดแซม
(ซ้ำ)…พิศ พวงชมพู
กระดังงา เลื้อยเคียงคู่ ดูสดสวยแฉล้ม
รสสุคนธ์ บุญนาค นางแย้ม สารภี ที่ถูกใจ…
…งาม อุบล ปน จันทร์กะพ้อ
ผีเสื้อแตกกอ พร้อมเล็บมือนาง พุดตาน กล้วยไม้
ดาวเรือง อัญชัน ยี่หุบ มะลิวัลย์ แลวิไล
ชูช่อไสว เร้าใจในอุทยาน…(ซ้ำ)

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง