ดอกพิกุล

ดอกพิกุล

ดอกพิกุล

ชื่อวิทยาศาสตร์ Mimusops elengi L.
ชื่อวงศ์ SAPOTACEAE
ชื่อสามัญ Mimusops
ชื่ออื่นๆ Tanjong Tree, Bullet Wood, พกุล
ถิ่นกำเนิด ประเทศอินเดีย พม่า และมาเลเซีย
การขยายพันธุ์ ปักชำกิ่ง เพาะเมล็ด
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
ดอกพิกุลมีกลิ่นหอมเย็นๆ นิยมใช้บูชาพระ เปลือกต้นพิกุลใช้ย้อมผ้า ต้มน้ำเกลืออมแก้ปวดฟันทำให้ฟันแน่น ดอกนำมากลั่นทำน้ำหอม น้ำจากดอกและผลใช้ล้างคอล้างปากและยังใช้เป็นยาสมุนไพรได้อีกด้วย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พิกุลเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงกลางความสูง 5-15 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหอกแคบๆ โคนใบแหลม ปลายใบมนหรือแหลม ใบเกลี้ยงขอบใบเรียบเป็นคลื่น ดอกออกเป็นกระจุกใหญ่ตามปลายกิ่ง หรือตามง่ามใบ ดอกออกดอกเดี่ยว ที่ปลายกิ่งและซอกใบ แต่อยู่รวมกันเป็นกระจุกมี 24 กลีบ เรียงซ้อนกันเป็น 2 ชั้น ชั้นใน 16 กลีบ ชั้นนอก 8 กลีบ สีขาวมีกลิ่นหอม แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมน้ำตาลเมื่อโรย ดอกบานวันเดียว ออกดอกเกือบตลอดทั้งปี ผลกลมรีหัวท้ายแหลม ผลสุกมีสีเหลือง สีส้มหรือสีแดง มี 1-2 เมล็ด
การปลูกและดูแลรักษา
ปลูกได้ในดินทุกชนิด ชอบแสงแดดจัด

เพลงอุทยานดอกไม้

ชม ผกา จำปา จำปี
กุหลาบ ราตรี พะยอม อังกาบ ทั้ง กรรณิการ์
ลำดวน นมแมว ซ่อนกลิ่น ยี่โถ ชงโค มณฑา
สายหยุด เฟื่องฟ้า ชบา และ สร้อยทอง
บานบุรี ยี่สุ่น ขจร
ประดู่ พุดซ้อน พลับพลึง หงอนไก่ พิกุล ควรปอง
งาม ทานตะวัน รักเร่ กาหลง ประยงค์ พวงทอง
บานชื่น สุขสอง พุทธชาด สะอาดแซม
(ซ้ำ)…พิศ พวงชมพู
กระดังงา เลื้อยเคียงคู่ ดูสดสวยแฉล้ม
รสสุคนธ์ บุญนาค นางแย้ม สารภี ที่ถูกใจ…
…งาม อุบล ปน จันทร์กะพ้อ
ผีเสื้อแตกกอ พร้อมเล็บมือนาง พุดตาน กล้วยไม้
ดาวเรือง อัญชัน ยี่หุบ มะลิวัลย์ แลวิไล
ชูช่อไสว เร้าใจในอุทยาน…(ซ้ำ)

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง