ต้นไม้ประจำจังหวัด
|
ชลบุรี
|
ชื่อพันธุ์ไม้
|
ประดู่ป่า
|
ชื่อสามัญ
|
Bermese Ebony
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Pterocarpus macrocarpus Kurz
|
วงศ์
|
PAPILLIONACEAE
|
ชื่ออื่น
|
จิต๊อก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), ฉะนอง (เชียงใหม่), ดู่ ดู่ป่า (ภาคเหนือ),
ตะเลอ เตอะเลอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ประดู่ ประดู่ป่า (ภาคกลาง) ประดู่
ประดู่เสน (ราชบุรี, สระบุรี)
|
ลักษณะทั่วไป
|
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 15–25 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลดำแตกเป็นสะเก็ด
เปลือกในมีน้ำเลี้ยงสีแดง เนื้อไม้สีขาวอมเหลือง แก่นสีน้ำตาลแกมแดง เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ
ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่ขอบขนาน ปลายใบเป็นติ่ง โคนใบมน
ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบ รูปดอกถั่ว กลีบดอกสีเหลืองอ่อนกลิ่นหอม ผลแผ่เป็นปีกแบนๆ
มีขนาดใหญ่กว่าประดู่บ้าน และมีขนปกคลุมทั่วไป
|
ขยายพันธุ์
|
โดยการเพาะเมล็ด
|
สภาพที่เหมาะสม
|
ดินร่วน ทนแล้ง ต้องการน้ำปานกลาง
|
ถิ่นกำเนิด
|
ป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบแล้งทั่วไป
|