ต้นไม้ประจำจังหวัดบึงกาฬ ต้นสิรินธรวัลลี

ต้นไม้ประจำจังหวัดบึงกาฬ
ต้นสิรินธรวัลลี

ต้นไม้ประจำจังหวัดบึงกาฬ ต้นสิรินธรวัลลี

ต้นไม้ประจำจังหวัด
บึงกาฬ
ชื่อพันธุ์ไม้
ต้นสิรินธรวัลลี
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์
Bauhinia sirindhorniae
วงศ์
FABACEAE
ชื่ออื่น
สิรินธรวัลลี (ภาคกลาง และทั่วไป) สามสิบสองประดง, ประดงแดง (ภาคอีสาน)
ลักษณะทั่วไป
ต้นสิรินธรวัลลีเป็นไม้เลื้อยขนาดใหญ่ ลำต้นเป็นเถาเลื้อยพาดตามต้นไม้อื่น สามารถเลื้อยได้ยาวมากกว่า 20 เมตร เป็นไม้เนื้อแข็งในวงศ์ถั่ว กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลอมแดง กิ่งแก่ไม่มีขน กิ่งเกลี้ยง ใบ เป็นลักษณะใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่จนเกือบกลม ใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน เมื่อใบแก่มีสีเขียวแก่ ปลายใบฉีกเป็นสองแฉก ฐานใบรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ ปลายใบพูมน มีขนบริเวณเส้นกลางใบ แผ่นของใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบด้านบนเข้มเป็นมัน เส้นใบข้างละ 9–11 เส้น จากโคนใบ ก้านใบยาว 2–7 เซนติเมตร ดอก มีสีน้ำตาลแดงหรือสีส้มเข้ม ดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก ดอกตูมรี ช่อดอกยาวได้ถึงประมาณ 15 เซนติเมตร ออกดอกตลอดปี แต่ดอกจะบานมากในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม
ขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง และตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม
เติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย และดินเหนียว ปลูกได้ทั้งการปลูกลงดิน และปลูกในกระถาง
ถิ่นกำเนิด
เป็นไม้ถิ่นเดียวในประเทศไทย พบครั้งแรกโดย ดร.ชวลิต นิยมธรรม เมื่อ 20 กันยายน พ.ศ. 2538 ที่ภูทอกน้อยจังหวัดบึงกาฬ ต่อมากรมป่าไม้ได้ขอพระราชทานชื่อด้วยการใช้พระนามาภิไธยของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เพราะพระองค์ได้ทรงสนพระทัยเกี่ยวกับทางด้านพฤกษศาสตร์มาตลอด

คำขวัญประจำจังหวัดบึงกาฬ
ภูทอกแหล่งพระธรรม ค่าล้ำยางพารา งามตาแก่งอาฮง บึงโขงหลงเพลินใจ น้ำตกใสเจ็ดสี ประเพณีแข่งเรือ เหนือสุดแดนอีสาน นมัสการหลวงพ่อใหญ่ ศูนย์รวมใจศาลสองนาง


ต้นไม้ประจำจังหวัด

ภาคเหนือ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคกลาง

ภาคตะวันออก

ภาคตะวันตก

ภาคใต้

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง