ต้นไม้ประจำจังหวัดอุดรธานี ต้นรัง

ต้นรัง
ต้นไม้ประจำจังหวัดอุดรธานี

ต้นไม้ประจำจังหวัดอุดรธานี ต้นรัง

ต้นไม้ประจำจังหวัด
อุดรธานี
ชื่อพันธุ์ไม้
ต้นรัง
ชื่อสามัญ
Burmese sal, Ingyin
ชื่อวิทยาศาสตร์
Shorea siamensis Miq.
วงศ์
DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่น
เปา เปาดอกแดง (ภาคเหนือ), รัง (ภาคกลาง), เรียง เรียงพนม (เขมร-สุรินทร์), ลักป้าว (ละว้า-เชียงใหม่), แลบอง เหล้ท้อ เหล่บอง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน),
ฮัง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ลักษณะทั่วไป
ต้นรังเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 15–20 เมตร เปลือกต้นสีเทาแตกเป็นร่องตามความยาวลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ ปลายใบมน โคนใบหยักเว้า ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อ กลิ่นหอมอ่อน ออกดอกเดือนมีนาคม-เมษายน ผลรูปกระสวย มีปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก
ขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม
ดินร่วนปนกรวดและดินทราย เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิด
ป่าเบญจพรรณแล้ง ป่าแดงทั่วไป ทนแล้ง ทนไฟได้ดีมาก

คำขวัญประจำจังหวัดอุดรธานี
กรมหลวงประจักษ์ฯ สร้างเมือง ลือเลื่องแหล่งธรรมะ อารยธรรมห้าพันปี ธานีผ้าหมี่ขิด ธรรมชาติเนรมิตทะเลบัวแดง


ต้นไม้ประจำจังหวัด

ภาคเหนือ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคกลาง

ภาคตะวันออก

ภาคตะวันตก

ภาคใต้

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง