5 มิถุนายน วันสิ่งแวดล้อมโลก

5 มิถุนายน
วันสิ่งแวดล้อมโลก

ปัจจุบันปัญหาความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม เช่น การขาดแคลนอาหาร วิกฤตการณ์พลังงาน อัตราการเพิ่มของประชากรที่สูงมาก รวมทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษและปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมอีกหลายประการ เช่น

  1. การหลั่งไหลของประชากรจากชนบทสู่เมืองใหญ่
  2. การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างถูกต้อง
  3. การสร้างอุตสาหกรรม ตลอดจนการนำเทคโนโลยีมาใช้โดยไม่คำนึงถึงผลสะท้อนที่ตามมา หากปัญหาต่างๆ ไม่ได้รับการป้องกันหรือแก้ไข ผลที่มาจะก่อให้แก่ความเดือดร้อนแก่มนุษย์ชาติอย่างมหันต์

วันที่ 5-16 มิถุนายน พ.ศ.2515 สหประชาชาติร่วมกับรัฐบาลประเทศสวีเดนได้จัดการประชุมที่เรียกว่า “การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์” (UN Conference on The Human Environment) ที่กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน โดยใช้เวลาเตรียมการประชุมครั้งนี้ถึง 3 ปี เพื่อจัดทำร่างข้อเสนอต่างๆ รวมทั้งแผนดำเนินการและปฏิญญาว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ มีผู้เข้าร่วมประชุม 1,200 คน จาก 113 ประเทศ ผู้สังเกตการณ์มากกว่า 1,500 คน จากหน่วยงานรัฐ องค์กรเอกชนและสื่อมวลชนแขนงต่างๆ รวมทั้งตัวแทนเยาวชนและกลุ่มนักศึกษาจากทั่วโลก

ผลการประชุมนับว่าประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เพราะเป็นครั้งแรกที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้หันหน้าเข้าหากันเพื่อร่วมขจัดภยันตรายด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลังคุกคามของเรา

ดังนั้น เพื่อเป็นการระลึกถึงจุดเริ่มต้นของการร่วมมือระหว่างชาติทั่วโลก จึงได้มีการกำหนดให้วันแรกของการประชุม คือ วันที่ 5 มิถุนายน เป็น “วันสิ่งแวดล้อมโลก” (World Environment Day) พร้อมทั้งได้จัดตั้ง “โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ” หรือเรียกย่อว่า “ยูเนป” (UNEP : United Nation Environment Program) ขึ้น ซึ่งรัฐบาลประเทศต่างๆ ก็ได้รับข้อตกลงจากการประชุมคราวนั้น และจัดตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศของตน

สำหรับในประเทศไทย มีการตรากฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขึ้นในปี พ.ศ.2518 เป็นฉบับแรก เรียกว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พุทธศักราช 2518 ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติฯ ฉบับที่ 2 ปี พ.ศ.2521 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 พ.ศ.2522 ต่อมาในสมัยรัฐบาลของ นายอานันท์ ปันยารชุน ได้มีร่างพระราชบัญญัติฯ ขึ้นใหม่โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2535 เรียกว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กรมควบคุมมลพิษ และกรมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พุทธศักราช 2535 เป็นพระราชบัญญัติที่มุ่งกระจายอำนาจของการวางแผนและปฏิบัติการการสิ่งแวดล้อมลงสู่ท้องถิ่นและให้ความสำคัญในเรื่องของเรื่องของการติดตามตรวจสอบ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการควบคุมมลพิษ ดังนั้นการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงถือเป็นหน้าที่ของทุกๆ คนที่จะต้องร่วมมือกันเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก

วันสิ่งแวดล้อมโลกในแต่ละปีจะมีหัวข้อรณรงค์และส่งเสริมให้เกิดการตื่นตัวในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ต่างกันออกไป และมีคำขวัญที่ต่างกันไปในแต่ละปี ดังนี้

  • พ.ศ.2528 เยาวชน ประชากร และสิ่งแวดล้อม (Youth, Population and Environment)
  • พ.ศ.2529 ต้นไม้เพื่อสันติภาพ (A Tree for Peace)
  • พ.ศ.2530 (Public Participation, Environment Protection and Sustainable Development)
  • พ.ศ.2531 การมีส่วนร่วมของประชาชน การปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (When people put the environment first, development will last)
  • พ.ศ.2532 ภาวะโลกร้อน (Global Warming, Global Warming)
  • พ.ศ.2533 เด็ก และสิ่งแวดล้อม (Children and the Environment (Our Children, Their Earth))
  • พ.ศ.2534 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change: Need for Global Partnership)
  • พ.ศ.2535 (Only One Earth: Care and Share)
  • พ.ศ.2536 (Poverty and the Environment: Breaking the Vicious Circle)
  • พ.ศ.2537 โลกใบเดียว ครอบครัวเดียวกัน (One Earth, One Family)
  • พ.ศ.2538 ประชาชน เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมโลก (We the Peoples, United for the Global Environment)
  • พ.ศ.2539 รักโลก: ดูแลถิ่นฐานบ้านเรา (Our Earth, Our Habitat, Our Home)
  • พ.ศ.2540 เพื่อชีวิตที่ยั่งยืนบนผืนโลก (For Life on Earth)
  • พ.ศ.2541 เศรษฐกิจพอเพียง เลี้ยงชีวิตยั่งยืน (For Life on Earth “Save our Seas”)
  • พ.ศ.2542 รักโลก รักอนาคต รักษ์สิ่งแวดล้อม (“Our Earth, Our Future…Just Save It”)
  • พ.ศ.2543 ปี 2000 สหัสวรรษแห่งชีวิตสิ่งแวดล้อม: ร่วมคิด ร่วมทำ เพื่อโลก เพื่อเรา (2000 The Environment Millennium: Time to Act)
  • พ.ศ.2544 เชื่อมโยงโลกกว้าง ร่วมสร้างสานสายใยชีวิต (Connect with the World Wide Web of Life)
  • พ.ศ.2545 ให้โอกาสโลกฟื้น คืนความสดใสให้ชีวิต (Give Earth a Chance)
  • พ.ศ.2546 รักษ์น้ำเพื่อสรรพชีวิต ก่อนวิกฤตจะมาเยือน (Water – Two Billion People are Dying for it!)
  • พ.ศ.2547 ร่วมพิทักษ์ ร่วมรักษ์ทะเลไทย (Wanted! Sea and Oceans – Dead or Live?)
  • พ.ศ.2548 เมืองเขียวสดใส ร่วมใจวางแผนเพื่อโลก (Green cities plan for the planet)
  • พ.ศ.2549 เพิ่มความชุ่มชื้น คืนสู่ธรรมชาติ (DON’T DESERT DRYLANDS!)
  • พ.ศ.2550 ลดโลกร้อน ด้วยชีวิตพอเพียง (MELTING ICE-A HOT TOPIC)
  • พ.ศ.2551 ลดวิกฤติโลกร้อน: เปลี่ยนพฤติกรรม ปรับแนวคิด สู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (Co2 Kick the Habit! Towards a Low Carbon Economy)
  • พ.ศ.2552 คุณคือพลัง ช่วยหยุดยั้งภาวะโลกร้อน (Your Planet Needs You – Unite to Combat Climate Change)
  • พ.ศ.2553 ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤติชีวิตโลก (Many Species One Planet One Future)

ปฏิทินพรรณไม้

มีนาคม
เมษายน
กรกฎาคม
พฤศจิกายน

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง