มะนาว

มะนาว

มะนาว

ชื่อวิทยาศาสตร์

Citrus aurantifolia (Christm) Swing.

ชื่อสามัญ

Lime, Common Lime

ชื่อวงศ์

Rutaceae

ชื่อท้องถิ่น

  • ทั่วไป เรียก มะนาว
  • เชียงใหม่ เรียก มะลิว
  • ภาคใต้ เรียก ลีมานีปีห์
  • ภาคเหนือ หมากฟ้า
  • เขมร-สุรินทร์ เรียก โกรยชะม้า
  • กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี เรียก ประนอเกล, มะนอเกละ

ลักษณะทั่วไป

มะนาวเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ทรงพุ่ม มีหนามตามต้น ก้านใบสั้น ตัวใบรูปร่างกลมรี ขอบใบหยักเล็กน้อย ปลายและโคนใบมน ดอกเล็กสีขาวอมเหลืองกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลกลมเปลือกบางเรียบ มีน้ำมาก รสเปรี้ยว เปลือกผลมีน้ำมัน กลิ่นหอม รสขม
มะนาว

การปลูก

ขึ้นได้ในดินทุกชนิด โดยเฉพาะดินร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี ควรปลูกในฤดูฝน นิยมปลูกด้วยกิ่งตอน โดยปลูกในหลุมที่ใช้ปุ๋ยหมักรองก้นหลุมก่อน ช่วงที่ปลูกใหม่ๆ ควรรดน้ำทุกวันและไม่ควรโดนแดดมากในช่วงแรกๆ

สรรพคุณทางยา

  • เปลือกผลมีรสขม ช่วยขับลม รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด นำเอาเปลือกของผลสดประมาณครึ่งผล คลึงหรือทุบเล็กน้อยพอให้น้ำมันออก ชงน้ำร้อนดื่มเวลามีอาการ
  • น้ำมะนาวรักษาอาการไอและขับเสมหะ โดยใช้ผลสดคั้นน้ำจะได้น้ำมะนาวเข้มข้น ใส่เกลือเล็กน้อยจิบบ่อยๆ หรือจะทำเป็นน้ำมะนาวใส่เกลือและน้ำตาล ปรุงให้รสเข้มข้นพอควร ดื่มบ่อยๆ ก็ได้อีกเช่นกัน
  • น้ำมะนาวผสมดินสอพองใช้ทาบริเวณหัวโน จะทำให้เย็นและยุบลงเร็ว

คุณค่าทางโภชนาการ

ประโยชน์ของน้ำมะนาวที่รู้จักกันดีคือ มีวิตามินซีสูงมาก รักษาโรคเลือดออกตามไรฟันได้ดี แต่วิตามินซีก็สลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน จึงต้องระมัดระวังในการปรุงอาหาร

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

ผิวเปลือกของมะนาวมีน้ำมันหอมระเหยโวลาทิล มีฤทธิ์ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อได้ ส่วนน้ำมะนาวก็มีสารเคมี หลายชนิด เช่น Slaronoid, Organic acid, citral และวิตามินซี ฯลฯ น้ำมะนาวมีฤทธิ์รักษาโรคลักปิด ลักเปิดเนื่องจากมีวิตามินซีสูง ส่วนฤทธิ์ในการแก้ไอขับเสมหะโดยกรดที่มีอยู่ในน้ำมะนาวกระตุ้นให้มีการ ขับน้ำลายออกมา ทำให้เกิดการชุ่มคอ จึงลดอาการไอลงได้

ความเชื่อ

ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวงกล่าวไว้ว่า มะนาวเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรปลูกไว้ในบริเวณบ้าน โดยกำหนดปลูกทางทิศตะวันตกเหนือ (พายัพ) เพื่อผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านจะได้มีความสุขสวัสดี ในบาตำราเล่าว่าเป็นความเชื่อของคนบ้านป่าสมัยก่อน ก่อนผ่านป่าละเมาะผ่านดงจะพกมะนาวหรือมะกรูดติดตัวไปด้วย เพื่อใช้ป้ายจมูกโค กระบือ เพื่อดับกลิ่นสาบเสือ เนื่องจากเวลาโค กระบือ ได้กลิ่นสาบเสือแล้วจะไม่ยอมเดินต่อ

มะนาว


ทิศอุดร (ทิศเหนือ)

ทิศอีสาน (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)

ทิศบูรพา (ทิศตะวันออก)

ทิศอาคเนย์ (ทิศตะวันออกเฉียงใต้)

ทิศทักษิณ (ทิศใต้)

ทิศหรดี (ทิศตะวันตกเฉียงใต้)

ทิศประจิม (ทิศตะวันตก)

ทิศพายัพ (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ)

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง