ไม้ประดับดูดสารพิษ ยางอินเดีย

ยางอินเดีย
Rubber Plant

ยางอินเดียเป็นไม้ประดับที่รู้จักในเมืองไทยมานานแล้ว เป็นพรรณไม้ขนาดใหญ่ ถ้าปลูกกลางแจ้งจะสูงไม่มากนัก ถึงแม้จะเป็นไม้ที่ชอบแสงแดดแต่ก็เจริญเติบโตได้ในสภาพที่แสงน้อย ปลูกง่ายทนทาน มิหนำซ้ำยังมีคุณสมบัติดีเด่นในการดูดสารพิษจากอากาศภายใน อาคารได้ดีเยี่ยม ยางอินเดียมีลำต้นตั้งตรง ลักษณะเด่นอยู่ที่ใบ มีลักษณะกลมรีปลายแหลม
ใบหนาสีเขียวเข้มเป็นมันวาวดูสวยงาม ปลูกเป็นไม้ประดับได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร

ในบรรดาต้นไม้ขนาดใหญ่ด้วยกันแล้ว ยางอินเดียเป็นไม้ประดับภายในอาคารที่น่าสนใจ เพราะเจริญเติบโตได้ดีถึงแม้จะมีแสงน้อย ปลูกง่าย ทนทาน ต้องการน้ำไม่มาก แต่ในทางตรงกันข้ามกลับเป็นพืชที่คายความชื้นได้มาก และที่สำคัญเป็นพืชที่สามารถดูดสารพิษช่วยฟอกอากาศภายในบ้านและสำนักงานได้อย่างดีเยี่ยม

ไม้ประดับดูดสารพิษ ยางอินเดีย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus Robusta
วงศ์ MORACEAE
ถิ่นกำเนิด ประเทศอินเดีย หมู่เกาะมลายู
แสงแดด แดดจัด
อุณหภูมิ 18–24 องศาเซลเซียส
ความชื้น ต้องการความชื้นบ้าง
น้ำ ต้องการน้ำปานกลาง
การดูแล เป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมาก ไม่ชอบชื้นแฉะ แต่ก็อย่าปล่อยให้ดินแห้งจนเกินไป เนื่องจากมีใบที่สวยงาม จึงควรหมั่นใช้ผ้าชุบน้ำพอหมาดเช็ดใบเพิ่มความชุ่มชื่น ใบจะเป็นมันวาว ให้ปุ๋ยโดยใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกละลายน้ำอย่างเจือจางรดทุก 1–2
เดือน
การปลูก เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยมีการระบายน้ำดี ส่วนผสมของดิน ใช้ดินร่วน 2 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วน เศษใบไม้ผุ 1 ส่วน
การขยายพันธุ์ โดยการตอนกิ่งหรือปักชำ
อัตราการคายความชื้น ปานกลางถึงมาก
อัตราการดูดสารพิษ มาก


ไม้ประดับดูดสารพิษ

บอสตันเฟินเบญจมาศเยอบิร่าสิบสองปันนาวาสนาราชินีปาล์มไผ่เฟิร์นดาบออสเตรเลียยางอินเดียตีนนตุ๊กแกฝรั่งไทรย้อยใบแหลมเดหลีหมากเหลืองวาสนาอธิษฐานจั๋งหนวดปลาหมึกเข็มริมแดงประกายเงินเศรษฐีไซ่ง่อนกล้วยไม้หวายสาวน้อยประแป้งทิวลิปไทรใบเล็กเสน่ห์จันทน์แดงปาล์มใบไผ่กุหลาบพันปีเขียวหมื่นปีเศรษฐีเรือนในกล้วยแคระมรกตแดงสโนว์ดรอปฟิโลหูช้างพลูด่างสนฉัตรบิโกเนียใบมันแววมยุราไอวีมังกรคาบแก้วฟิโลเซลลอมเงินไหลมาฟิโลใบหัวใจ
หน้าวัวเปลวเทียนคล้าหางนกยูงคริสต์มาสไซคลาเมนกล้วยไม้ฟาแลนอปซีสสับปะรดสีโกสนลิ้นมังกรว่านหางจระเข้กุหลาบหิน

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง