ดอกกฤษณา ดอกไม้ประจำจังหวัดตราด

ดอกกฤษณา
ดอกไม้ประจำจังหวัดตราด

ดอกกฤษณา ดอกไม้ประจำจังหวัดตราด

ดอกไม้ประจำจังหวัด
ตราด
ชื่อดอกไม้
ดอกกฤษณา
ชื่อสามัญ
Eagle Wood, Lignum Aloes, Agarwood, Aloe Wood, Calambac, Aglia, Akyaw
ชื่อวิทยาศาสตร์
Aquilaria subintegra Ding Hau
วงศ์
THYMELAEACEAE
ชื่ออื่น
กฤษณา (ภาคตะวันออก), กายูการู กายูกาฮู (มาเลเซีย ปัตตานี), ไม้หอม (ภาคตะวันออก ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 20-30 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นตรง เรือนยอดเป็นพุ่มทรงเจดีย์ เนื้อไม้มีสีขาว ต้นไม้ชนิดนี้หากมีบาดแผลซึ่งอาจเกิดจากการตัด แมงเจาะใช หรือเป็นโรคจะขับสารชนิดหนึ่งที่อยู่ในลำต้น ออกมาทำหน้าที่ต้านความผิดปกติเหล่านั้น ทำให้บริเวณที่เกิดแผลดังกล่าวเปลี่ยน เป็นสีดำและก่อตัวเป็นผลึก ทำให้เกิดความ แข็งแกร่งของเนื้อไม้ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า กฤษณา มีกลิ่นหอม ความผิดปกติ จะขยายไปเรื่อยๆ ทำให้สีดำมีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแก่นกฤษณา ที่มีสีดำนั้น ถือว่าเป็นไม้คุณภาพชั้นหนึ่ง มีราคาสูงมาก หากมีสีน้ำตาลเทา คุณภาพจะรองลงมา ถ้ามีสีเหลืองปนดำ ถือว่าเป็นคุณภาพต่ำ ซึ่งไม้กฤษณาเป็นสินค้าที่นำมาทำ หัวน้ำหอม ตลอดจนเครื่องหอมหลายชนิด
การขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม
ที่ชุ่มชื้นตามป่าดงดิบชื้นและแล้ง หรือที่ราบใกล้กับแม่น้ำ ลำธาร สามารถขึ้นได้ในที่สูงถึง 1,100 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางหรือมากกว่า
ถิ่นกำเนิด
พบในป่าดงดิบของจังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ภาคเหนือ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคกลาง

ภาคตะวันออก

ภาคตะวันตก

ภาคใต้

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง