ต้นไม้ประจำจังหวัดชัยนาท ต้นมะตูม

ต้นมะตูม
ต้นไม้ประจำจังหวัดชัยนาท

ต้นไม้ประจำจังหวัดชัยนาท ต้นมะตูม

ต้นไม้ประจำจังหวัด
ชัยนาท
ชื่อพันธุ์ไม้
ต้นมะตูม
ชื่อสามัญ
Bael Fruit Tree, Bengal Quince
ชื่อวิทยาศาสตร์
Aegle marmelos (L.) Corr.
วงศ์
RUTACEAE
ชื่ออื่น
กะทันตาเถร ตุ่มตัง (ลานช้าง), ตูม (ปัตตานี), พะโนงค์ (เขมร), มะตูม (ภาคกลาง,ภาคใต้), มะปิน (ภาคเหนือ), มะปีส่า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่วไป
ต้นมะตูมเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 5–10 เมตร แตกกิ่งต่ำ ตามลำต้นมีหนามยาว เปลือกสีเทา เรือนยอดค่อนข้างโปร่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ดอกสีขาวอมเขียวหรือสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม ขนาดเล็ก ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ผลเป็นรูปไข่แข็ง เนื้อสีเหลือง มียางเหนียว
ขยายพันธุ์
โดยการเพาะเมล็ด และตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม
ดินทุกชนิด ทนแล้ง ต้องการน้ำปานกลาง
ถิ่นกำเนิด
ประเทศอินเดีย ศรีลังกา และออสเตรเลีย ประเทศไทยพบประปรายตามป่าเบญจพรรณ

คำขวัญประจำจังหวัดชัยนาท
หลวงปู่ศุขลือชา เขื่อนเจ้าพระยาลือชื่อ นามระบือสวนนก ส้มโอดกขาวแตงกวา


ต้นไม้ประจำจังหวัด

ภาคเหนือ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคกลาง

ภาคตะวันออก

ภาคตะวันตก

ภาคใต้

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง