ต้นไม้ประจำจังหวัดปัตตานี ต้นตะเคียนทอง

ต้นตะเคียนทอง
ต้นไม้ประจำจังหวัดปัตตานี

ต้นไม้ประจำจังหวัดปัตตานี ต้นตะเคียนทอง

ต้นไม้ประจำจังหวัด
ปัตตานี
ชื่อพันธุ์ไม้
ต้นตะเคียนทอง
ชื่อสามัญ
Iron Wood
ชื่อวิทยาศาสตร์
Hopea odorata Roxb.
วงศ์
DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่น
กะกี้ โกกี้ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), แคน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), จะเคียน (ภาคเหนือ), จูเค้ โซเก (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ตะเคียนทอง ตะเคียนใหญ่ (ภาคกลาง), ไพร (ละว้า-เชียงใหม่)
ลักษณะทั่วไป
ต้นตะเคียนทองเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ กลม หรือรูปเจดีย์ เปลือกหนาสีน้ำตาลดำแตกเป็นสะเก็ด กระพี้สีน้ำตาลอ่อน แก่นสีน้ำตาลอมเหลือง ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่แกมรูปหอกหรือรูปดาบ เนื้อใบค่อนข้างหนา ปลายใบเรียว โคนใบมนป้านและเบี้ยว หลังใบมีตุ่มเกลี้ยง ปลายโค้งแต่ไม่จรดกัน ออกดอกขนาดเล็ก สีขาว ออกเป็นช่อยาวตามง่ามใบและปลายกิ่ง กลิ่นหอม ผล รูปไข่ เกลี้ยง ปลายมนเป็นติ่งคล้ายหนามแหลม ภายในกลีบรองดอกที่ขยายตัวออกเป็นปีก รูปใบพาย
ขยายพันธุ์
โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม
อากาศชุ่มชื้น ในช่วงที่ต้นยังไม่โตจะไม่ชอบแสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด
เอเชียเขตร้อน

คำขวัญประจำจังหวัดปัตตานี
บูดูสะอาด หาดทรายสวย รวยน้ำตก นกเขาดี ลูกหยีอร่อย หอยแครงสด


ต้นไม้ประจำจังหวัด

ภาคเหนือ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคกลาง

ภาคตะวันออก

ภาคตะวันตก

ภาคใต้

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง